เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหนๆ ในโลก
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กิเลสเครื่องฟู อธิบายว่า กิเลสเครื่องฟู 7 อย่าง คือ

1. กิเลสเครื่องฟูคือราคะ 2. กิเลสเครื่องฟูคือโทสะ
3. กิเลสเครื่องฟูคือโมหะ 4. กิเลสเครื่องฟูคือมานะ
5. กิเลสเครื่องฟูคือทิฏฐิ 6. กิเลสเครื่องฟูคือกิเลส
7. กิเลสเครื่องฟูคือกรรม

ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟู คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ กิเลสเครื่องฟู
ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก หรือ
ทั้งภายในและภายนอก
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม
[19] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้
(แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
คำว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง อธิบายว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :86 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด 2 อย่าง คือ (1) การกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา (2) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อันปัจจัยปรุงแต่ง คือ ปรุงแต่งขึ้น ปรุงแต่ง
เฉพาะ ตั้งไว้ดีแล้ว รวมความว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
อีกนัยหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา
มีความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
คำว่า เจ้าลัทธิใด ได้แก่ เจ้าลัทธิผู้เป็นเจ้าของทิฏฐิ ทิฏฐิ 62 ตรัสเรียกว่า
ธรรม รวมความว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง

ว่าด้วยการเชิดชู 2 อย่าง
คำว่า เชิดชูไว้ ในคำว่า มี ... เชิดชูไว้ (แต่) ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ การเชิดชู
2 อย่าง คือ (1) การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา (2) การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่า
การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ
เจ้าลัทธินั้นยังไม่ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ยังไม่สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย
อำนาจทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ยังไม่สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ยังไม่สลัดทิ้งการ
เชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ เจ้าลัทธินั้นเที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ มีตัณหาเป็น
ธงชัย มีตัณหาเป็นยอดธง มีตัณหาเป็นใหญ่ มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นยอดธง
มีทิฏฐิเป็นใหญ่ คือ ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า เชิดชูไว้
คำว่า มี ได้แก่ มี คือ ปรากฏ หาได้
คำว่า ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด คือ ไม่ขาว ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง
แปดเปื้อน รวมความว่า มี ... เชิดชูไว้(แต่)ไม่ขาวสะอาด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบความในข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :87 }